ภูมิหลังในการพัฒนาระบบอาวาตาร์ไกด์

ทำไมเดี่ยวนี้จึงต้องมีอาวาตาร์ไกด์~

พวกเราจัดตั้งบริษัทท่องเที่ยวซึ่งเจาะจงนักท่องเที่ยวขาเข้าในปี 2005 ให้บริการนักท่องเที่ยวจากอเมริกา ยุโรป และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฯลฯ หลังจากก่อตั้งมา 17 ปีได้วางแผนและจำหน่าแผนการท่องเที่ยวของเราเอง  และใช้ประโยชน์จากเครือข่ายไกด์ล่ามอันแข็งแกร่งจากทั่วประเทศ ถ่ายทอดมนตร์เสน่ห์ของญี่ปุ่นสู่ลูกค้ามากมาย

ในสมัยที่ก่อตั้งบริษัท พวกเราก็ได้ให้บริการนักท่องเที่ยวที่มาเยือนญี่ปุ่นถึง 7 ล้านคน

รัฐบาลญี่ปุ่นเองก็ตั้งเป้าหมายว่าในปี 2030 อยากให้มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศมาเยือนญี่ปุ่น 60 ล้านคน หลังจากนั้นนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศก็ค่อยๆ เพิ่มขึ้น ในปี 2019 ก่อนการระบาดของโควิด 19 ยอดนักท่องเที่ยวก็เคยพุ่งสูงขึ้นถึง 30 ล้านคน

บริษัทของพวกเราก็ได้เพิ่มยอดประกอบการพร้อมกับเพิ่มจำนวนการเดินทางขาเข้า แต่ตั้งแต่ปี 2016 เป็นต้นมา ยอดขายมีการชะลอตัวคงที่ เหตุผลมีหลายปัจจัยแต่หลักๆ มาจากหารเข้ามาของบริษัทท่องเที่ยวรายใหญ่และระบบการจองแบบออนไลน์ต่างๆ

พวกเราทำงานนี้ด้วยความตั้งใจที่จะให้นักเดินทางขาเข้าทุกท่านได้มาเยือนสถานที่ต่างๆ ในแต่ละภูมิภาคของญี่ปุ่นและรู้จักมนตร์เสน่ห์ของประเทศญี่ปุ่นยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงให้ความสำคัญกับการก้าวไปด้วยกันของบริษัทท่องเที่ยวในต่างจังหวัดและกิจการที่เกี่ยวข้องทุกท่าน การคิดค้นแนวทางอยู่รอดใหม่ๆ ที่จะทำให้กิจการขนาดใหญ่ที่มีเงินลงทุน และกิจการขนาดกลางและขนาดเล็กที่ไม่ยอมแพ้แม้ไม่มีระบบออนไลน์ถือเป็นภารกิจเร่งด่วนของเรา

เมื่อนักเดินทางขาเข้าเพิ่มขึ้น ทำให้มีปัญหาต่างๆ ตามมาเช่น ไกด์ไม่เพียงพอ หรือนักท่องเที่ยวล้นสถานที่ แล้วระบบที่จะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ ทั้งยังเป็นระบบที่ส่งสัญญาณจากญี่ปุ่น และยิ่งเป็นบริษัทท่องเที่ยวขนาดเล็กของญี่ปุ่นก็ยิ่งทำได้คืออะไรกันนะ เราจึงได้ทดลองและพัฒนาระบบที่ไม่สามารถทำได้จากต่างประเทศและมีความเป็นมิตร

หลังจากการระบาดของโควิด 19 ผ่านมา 2 ปี กิจการของเราก็ยังถูกหยุดนิ่ง

แต่ละวันมีแต่ความกังวลใจว่าควรจะทำอย่างไรต่อไปดี

จนกระทั่งวันนึงผมคิดถึงตอนที่ไปต่างประเทศขึ้นมาว่า ในวันที่ไม่ได้พกไกด์บุ๊ค เราทำอย่างไรนะ

ตอนนั้นกินอาหารเช้าไปพลางก็คิดคำนวณว่าวันนี้จะไปเที่ยวคนเดียวที่ไหนดี

มีการเสิร์ฟแชมเปญในเวลาอาหารเช้าด้วยจึงทำให้อารมณ์ดีขึ้นมาเล็กน้อย

เมื่อลองเสิร์ชสถานที่ท่องเที่ยวใกล้ๆ ด้วย Google Map ก็สะดวกมากเพราะสามารถค้นหาด้วยภาษาญี่ปุ่นได้ 

ทั้งยังมีคำอธิบายง่ายๆ ว่าเป็นสถานที่แบบไหนอีกด้วย เมื่อลองค้นหาเส้นทาง ก็พบว่าอยู่ใกล้มาก จึงได้เดินไปตามเส้นทางที่แสดงขึ้นมา

ที่นั่นเป็นโบสถ์ออธอด็อกซ์สไตล์โรมาเนสค์ที่งดงามมาก เต็มไปด้วยภาพเฟรสโก

แต่เป็นสถานที่เก่าแก่มาก คนที่ไม่ใช่ชาวคริสต์อย่างผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่านักบุญคือใคร

ในที่สุดก็กลับออกมาจากที่นั่นด้วยความเสียดายว่าถ้ามีคำอธิบายสักหน่อยก็คงดี

วันต่อมามีเวลาเล็กน้อยจึงค้นหาสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ด้วย Google Map เช่นเคย คราวนี้ได้ขึ้นรถไฟใต้ดินไปสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่ง

หลงทางบ้างเล็กน้อย แต่เพราะมี Google Map จึงสามารถลัดเลาะไปถึงที่หมายได้อย่างง่ายดาย

สถานที่คราวนี้เป็นโบสถ์ยิว มีป้ายอธิบายคร่าวๆ ก็จริงแต่เขียนด้วยภาษาท้องถิ่นอ่านไม่รู้เรื่องเลย

จึงกลับออกมาโดยที่ยังไม่ค่อยเข้าใจ

ถึงจะจำความประทับใจใน Google Map และความรู้สึกที่สามารถลัดเลาะไปยังที่หมายอย่างง่ายดาย รวมถึงความสะดวกมากที่ทำให้เราได้ไปเยือนในเวลาที่เราพอใจได้ แต่ก็คิดว่าถ้าได้ฟังคำอธิบายต่างๆ ด้วยภาษาแม่ของเรา ก็น่าจะรู้สึกว่าได้ท่องเที่ยวล้ำลึกมากยิ่งขึ้นรึเปล่านะ

นั่นคงเป็นจุดกำเนิดของอาวาตาร์ไกด์กระมัง ยิ่งถ้าสามารถทำออกมาได้จากประสบการณ์ส่วนตัว ก็น่าจะยิ่งเดินทางได้สนุกสนานมากขึ้น

ปัญหาขาดแคลนไกด์ไม่ใช่แค่เรื่องจำนวนคนไม่พอเท่านั้น

ปัจจัยสำคัญที่สุดคือคุณสมบัติของไกด์และการพัฒนาระดับความสามารถเพื่อถ่ายทอดเสน่ห์ของญี่ปุ่นและทำให้ลูกค้าเข้าใจ รวมไปถึงช่วยให้การเดินทางเป็นที่น่าพอใจและเกิดความประทับใจที่ดี ก่อนก่อตั้งบริษัท พวกเราเคยมีประสบการณ์เป็นหัวหน้าทัวร์ของบริษัทท่องเที่ยว พาลูกค้าไปยังต่างประเทศ อธิบายวัฒนธรรมและเอกลักษณ์เฉพาะตัวของประเทศนั้นๆ รวมถึงแปลคำอธิบายของไกด์ท้องถิ่น ในการเดินทางที่ไม่มีหัวหน้าทัวร์ ไกด์จะไม่ได้แปลคำอธิบายของสถานที่เหล่านั้น แต่ก็อยากให้เป็นผู้แนะนำเรื่องราวต่างๆ และถ่ายทอดเสน่ห์ของญี่ปุ่นมากขึ้น

ไกด์ลักษณะดังกล่าวมีจำนวนจำกัด ทั้งยังต้องใช้เวลาในการอบรม ยิ่งสามารถรองรับได้หลายภาษาก็ยิ่งหายาก หากเปิดให้มีการเดินทางขาเข้าอีกครั้งเมื่อสถานการณ์โควิด 19 สงบลง คาดว่านักเดินทางต่างประเทศมากมายจะมาเยือนประเทศยอดนิยมที่สุดอย่างญี่ปุ่นอีกครั้งในฐานะจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยว

เราจึงได้พัฒนาคาเอเดะจังขึ้นมาให้เป็นระบบที่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ในอึดใจเดียว

ผมไม่มีลูกสาวและใจจริงเคยอยากได้ลูกสาว ทั้งยังเป็นภาพในอุดมคติของไกด์ที่ตัวผมเองอยากเป็นตอนที่ตัวผมเองทำงานเป็นหัวหน้าทัวร์อีกด้วย

ระบบอาวาตาร์ไกด์จะเริ่มต้นด้วย 6 ภาษา ได้แก่ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาอังกฤษ ภาษาสเปน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาลี และภาษาไทย อันดับแรกเราเน้นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในญี่ปุ่นก่อน จากนั้นค่อยๆ เพิ่มสถานที่ที่อยากแนะนำออกไปยังต่างจังหวัดด้วย

เราหวังว่าลูกค้าทุกท่านที่ได้ใช้งาน กิจการทุกบริษัทที่ได้นำมาใช้งาน และรัฐบาลท้องถิ่นทุกท่านจะช่วยทำให้เติบโตไปด้วยกันนะครับ